วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีตรวจสอบว่ามีคนแอบใช้ wireless เราอยู่หรือเปล่า


ตรวจสอบระบบเครือข่ายของเราผู้ ใช้งานอินเตอร์เน็ตตามบ้านส่วนใหญ่ นิยมติดตั้ง ADSL รุ่นที่รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wirelsss) เพราะทำให้สามารถเชื่อมต่อต่อเน็ตได้ในทุกๆ ที่ในบ้าน โดยเฉพาะในห้องนอน คุณสามารถนำคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว หรือ Notebook มาใช้ได้เลย สะดวกมากๆ แถมปัจจุบันราคา Notebook ก็มีแต่ถูกลง

แต่คุณทราบหรือไม่ว่า การใช้งานแบบไร้สายก็อาจมีปัญหาได้เช่นกัน

อินเตอร์เน็ตช้า สาเหตุอาจมาจากมีคนแอบใช้เน็ตของคุณ

นอกเหนือจากปัญหาของคอมพิวเตอร์ที่อาจทำให้รู้ว่า อินเตอร์เน็ตทำงานช้าลงแล้ว สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ อาจมีใครแอบใช้อินเตอร์เน็ตร่วมกับคุณก็เป็นได้ โดยเฉพาะกับบางคนที่ไม่ได้มีการใส่รหัสผ่านในการเชื่อมต่อเน็ต ซึ่งถือว่าอันตรายมากๆ

ทิปในการตรวจสอบการใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สาย

วิธีที่ 1 ตรวจสอบจาก Wireless Router ของเราเองเพียง แค่คุณพิมพ์ไอพี เพื่อเชือมต่อไปยัง Wireless Routerของคุณ ตัวอย่างเช่น ไอพี 192.168.1.1 เป็นต้น (ไอพีของ Wireless Router)  ผ่านทางโปรแกรม Internet Explorer จากนั้นก็ใส่ User / Password คุณสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่หัวข้อ System Log ว่ามีใครใช้งานร่วมกับคุณในช่วงเวลานี้หรือเปล่า

วิธีที่ 2 ใช้ัโปรแกรมช่วย ประเภท Network Scanner เพียง download และรันโปรแกรม (ไม่ต้องติดตั้ง) ดูจากภาพตัวอย่าง แค่พิมพ์ในช่อง ไอพีของเรา จากนั้นก็สั่ง Start Scanning แค่นี้ ถ้ามีไอพี อื่นๆ นอกเหนืจากทีเราใช้งานอยู่ก็แสดงให้เห็นว่า มีคนอื่นใช้งานร่วมกับเรา

สนใจ download โปรแกรม Network Scanner ของ :: SoftPerfect Network Scanner ::
ขนาดไฟล์เพียง 737 KB

Network Scanner
หากพบเครื่องที่ไม่ใช่เครื่องเรา ก็หาวิธีป้องกันได้เลยครับ

อยากทราบว่า ไอพีเครื่องของเรา คืออะไร ให้ทำตามดังนี้

  1. กดปุ่ม Start และกดปุ่ม R เพื่อเรียกโปรแกรม Run
  2. พิมพ์คำว่า cmd และกดปุ่ม enter
  3. พิมพ์คำว่า ipconfig และกดปุ่ม enter
  4. แค่นี้เราก็จะเห็น ไอพี บนเครื่องคอมฯ ของเราแล้ว
  5. ออกจากโปรแกรม ให้พิมพ์คำว่า exit และกดปุ่ม enter
 แหล่งอ้างอิง http://www.it-guides.com

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ธรรมะ สำหรับคนยุค IT

คนยุคไอที ก็คือยุคที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ด้วยคอมพิวเตอร์ด้วยโทรศัพท์ ด้วยเทคโนโลยีหลายๆ อย่างที่ทำให้กลุ่มคนต่างๆ สื่อสารกันอย่างรวดเร็ว และทำให้กลุ่มคนต่างๆ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารกันอย่างง่ายดายและรวดเร็ว ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อคนจำนวนไม่น้อย

 

แต่อย่างไรก็ตาม ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ก็ย่อมมีผลเสียเหมือนกัน ซึ่งผลเสียอันนี้ก็เกิดขึ้นมาจากผู้ใช้นั่นเอง

หากผู้ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เป็นคนดี เขาก็จะใช้สิ่งนั้นไปแต่ในทางที่เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แก่สังคม และแก่ประเทศชาติ เหมือนกับเรามีมีดอยู่ในมือ หากเป็นคนดีมีปัญญาก็เอามีดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่คนที่ไม่ดีไม่มีปัญญาก็เอาไปทำให้เกิดโทษ

การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในยุคนี้จึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะวัยรุ่น ซึ่งต้องใช้ความคิดให้รอบคอบก่อนที่จะใช้เทคโนโลยีทำอะไร ถึงแม้บางครั้งจะแค่เล่นๆ กัน นึกว่าจะไม่มีผลกระทบอะไร แต่หารู้ไม่ว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สิ่งที่เราคิดว่าเล่นๆ กัน ก็อาจจะมีผลไม่ดีต่อสังคมอย่างมากมายได้

ฉะนั้น ยุคไอทีนี้ สิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งคือการรู้จักควบคุมกาย ใจ ไม่ให้หลงไหลไปคิดในสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการโกหกหลอกลวง การใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ ในทางที่ไม่ดี ไม่เกิดประโยชน์ แต่เราควรมาช่วยกันใช้เทคโนโลยีสร้างปัญญาให้กับสังคม ให้กับวัยรุ่น ให้กับเด็กทั้งหลาย ที่บางครั้งเขาเหล่านั้นกำลังต้องการอยู่

การให้ธรรมเป็นทาน ให้ความคิด ให้ปัญญานั้น เป็นมหาทานที่ยิ่งใหญ่มาก หากเรามาช่วยกัน ก็จะทำให้สังคมเกิดความสุขมากขึ้น แต่หากต่างคนที่เล่นอินเตอร์เน็ต แชทกันสักแต่ว่าหาทางที่จะหลอกซึ่งกันและกันแล้วละก็ สังคมนี้ก็จะวุ่นวายแน่นอน เหมือนกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การกระทำเล็กๆ น้อยๆ ของเราอย่าคิดว่าจะไม่มีผลกระทบอะไรต่อสังคม ให้เราสังเกตเวลาเราโยนหินลงในบ่อ ถึงแม้ว่าจะเป็นก้อนหินเล็กๆ แต่คลื่นมันจะค่อยๆ กระจายไปจนเต็มบ่อเอง การทำความดีก็เหมือนกัน เราอย่าคิดว่าความดีเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีประโยชน์ มันจะค่อยๆ กระจายไปจนเต็มสังคมเอง หากเราตั้งใจทำความดีอย่างแท้จริง

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก : พลังจิตดอทคอม

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแนวทางปฎิบัติในการเก็บข้อมูลสําหรับผู้ดูแลระบบ

สำหรับผู้ดูแลระบบและผู้ทำเว็บ รวมทั้งเจ้าของ Blog ควรจะต้องรู้เกี่ยวกับแนวทางในการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อเป็นการปฎิบัติตาม พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ฯ ที่มีการประกาศใช้แล้ว รวมทั้ง พรบ. ใหม่ที่จะออกมาด้วย นั่นคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากประเด็นของการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ คือ ป้องกันการนำเอาเบอร์มือถือ ที่อยู่ หรือข้อมูลเราไปขายให้กับบุคคลอื่น  รวมถึงข้อมูลของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วย เช่น IP Address, ชื่อ login, username รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้งานมากรอกในเว็บไซต์เราด้วย 


แนวทางปฎิบัติตามกฏหมายการเก็บข้อมูลฯ สําหรับผู้ดูแลและพัฒนาเว็บ
ผู้ให้บริการ ต้องมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ และบันทึกเข้าใช้ข้อมูล
2. เก็บข้อมูลของผู้ประกาศ ในกรณีที่เป็น Web board หรือ Blog
3. เวลาใน log ที่เก็บจะต้องตั้งให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล (Stratum 0) โดยให้ผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที
4. ที่เก็บข้อมูล (ตัว log) จะต้องกําหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของข้อมูล และไม่ให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้
5. เก็บข้อมูล (ตัว log) ไว้เป็นเวลา 90 วัน  




ที่มา/อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่:
http://www.eblogbiz.com/2008/05/guideline-for-webmaster-about-cyber-law-and-privacy-law.html