วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ก้าวสู่อาเซียน

"One  Vision, One Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง อาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก 
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม (อาเซียน+3 เพิ่ม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อาเซียน+6 เพิ่ม ออสเตรเลีย อินเดีย นิวซีแลนด์)
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น


ที่มา http://203.172.142.8/en/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาสุขภาพกับมนุษย์ยุคดิจิตอล

แนวโน้มการใช้อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น

จากการเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ (ข้อมูลจากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2551 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ) พบว่า

-  มีอัตราการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ
   เพิ่มขึ้นทั้ง 3 ประเภทโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีผู้ใช้ประมาณ 16.54 ล้านคน (ร้อยละ28.2) ในปี 2547 ได้
   เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวคือ 31.86 ล้านคน (ร้อยละ 52.8) ในปี 2551

-  มีจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน คือ ในปี 2547 มีจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 12.54
   ล้านคน (ร้อยละ 21.4) และจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 6.97 ล้านคน (ร้อยละ 11.9)แต่ในปี 2551 มีผู้ใช้เพิ่มขึ้น
   เป็น 16.99 ล้านคน (ร้อยละ 28.2) และ 10.96 ล้านคน (ร้อยละ 18.2) ตามลำดับ (รูปที่ 1)


รูปที่ 1 ร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปที่ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และคอมพิวเตอร์ พ.ศ.22547-2551



ที่มา : รายงานการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2551 หน้า 1
อ้างใน : http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_5-1-3.html


นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มคนที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมากที่ สุด คือ กลุ่มเด็กและวัยรุ่น โดยในกลุ่มอายุ 6-14 ปี มีอัตราการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 61.6 ส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 15-24 ปี คือร้อยละ 54.7 นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่หลายๆ คนควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง(รูปที่ 2)


รูปที่ 2 ร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2551



ที่มา : รายงานการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2551 หน้า 16
อ้างใน : http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_5-1-3.html



ผลกระทบกับสุขภาพ

โทรศัพท์มือถือ

ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่มักมีพฤติกรรมการใช้แนบหูผู้ใช้กับเครื่อง อยู่ตลอดช่วงเวลาของการใช้งาน นั้นจะทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการรับ-ส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ กระทบกับอวัยวะโดยตรง ทั้งบริเวณ หู ตา และเข้าไปถึงสมองส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์และเนื้อเยื้อในบริเวณดังกล่าว และถ้าผู้ใช้ยังคงมีพฤติกรรมทำนองนี้เป็นประจำจะเกิดผลกระทบทั้งในระยะสั้น และระยะยาวดังนี้

ผลกระทบในระยะสั้น

อาจเกิดอาการปวดหู ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มึนงง ขาดสมาธิและเครียด เนื่องจากระบบพลังงานในร่างกายถูกรบกวน และ

ผลกระทบในระยะยาว

อาจทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม มะเร็งสมอง มะเร็งเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาพบว่า เนื้องอกในสมองมีความสัมพันธ์กับการใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะการเกิดเนื้องอกในสมองมักจะเป็นข้างเดียวกับข้างที่ใช้ฟัง-พูดโทรศัพท์ มือถือเป็นประจำ

เครื่องเล่น MP-3, IPOD และหูฟังของโทรศัพท์มือถือ

จากสรุปภาวะสังคมรายเดือน (กรกฎาคม2552) ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวว่า การเป็นโรคหูเสื่อมหรือหูดับ สาเหตุมาจากการนิยมฟังเพลงโดยใช้หูฟังจากเครื่องเล่น MP-3 หรือ IPOD รวมถึงการใช้หูฟังของเครื่องโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน และหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก เช่น ในศูนย์การค้าก็ต้องเปิดเสียงให้ดังเพื่อให้ได้ยินชัดขึ้นซึ่งเกินระดับ มาตรฐานการรับเสียง ส่งผลให้การได้ยินของเด็กไทยมีปัญหาค่อนข้างมาก

จากผลการสุ่มตรวจการได้ยินของของนักเรียนวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร ประมาณ 400 คน ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าร้อยละ 25 มีความผิดปกติในการรับฟังเสียง ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2550 มีผู้พิการทางหูเพิ่มขึ้นวันละ 35 คน หรือทั้งประเทศคาดว่าจะมีผู้ป่วยอาการประสาทหูเสื่อมประมาณ 2 ล้านคน

การใช้คอมพิวเตอร์

ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะเล่นเกม ทำงาน หรือเล่นอินเทอร์เน็ตมีดังนี้

1. ปัญหาเกี่ยวกับสายตา การใช้คอมพิวเตอร์นานเกินกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน จะทำให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคืองได้ และอาการที่ตามมาคือ ตาพร่าและมองไม่เห็นชั่วคราว รวมทั้งสายตาสั้นนอกจากนี้ยังมีอาการไมเกรนมาด้วย เพราะกล้ามเนื้อตาจะบีบรัดเลนส์ตาจนล้า

2. Computer Vision Syndrome (CVS) จะมีอาการเมื่อยล้าตา ปวดตา เคืองตา ตาแห้ง น้ำตาไหล ตามัว เห็นภาพซ้อน ปวดคอ หลังและไหล่

3. Repetitive Strain Injury หรือ RSI อาการนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนเรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูก สุขลักษณะ เช่น เอามือวางไว้บนคีย์บอร์ด และสามารถเกิดได้ทุกส่วนของรางกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็นก็มี

4. อาการท้องร่วงเพราะคีย์บอร์ด (Qwerty Tummy) ซึ่งชื่อของอาการนี้เอามาจากตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ดนั่นเอง สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงคือ คีย์บอร์ดมักมีแบคทีเรียสะสมอยู่ หลายคนมักรับประทานอาหารหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีคีย์บอร์ดตั้งอยู่ แบคทีเรียเหล่านี้อาจจะปะปนในอาหารได้

5. Carpal Tunnel Syndrome เกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ที่บริเวณข้อมือ ทำให้เอ็นรอบบริเวณข้อมือหนาตัวขึ้น แล้วไปกดเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน ทำให้เกิดอาการชาและเจ็บได้

แนวทางป้องกันโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงคือวัยเด็กและวัยรุ่น เพราะฉะนั้น "ครอบครัว" โดยเฉพาะผู้ปกครองควรให้ความสำคัญและหาวิธีการเพื่อป้องกันก่อนที่จะกลาย เป็นปัญหา ซึ่งมีแนวทางในการปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้

- ให้ความเอาใจใส่และเข้าใจบุตรหลานที่เริ่มเป็นวัยรุ่น

- แบ่งเวลาสำหรับพูดคุยกันในแต่ละวัน

- ให้คำแนะนำด้วยความเข้าอกเข้าใจ แสดงถึงความรักและห่วงใย

- สอดแทรกความรู้ถึงผลกระทบจากการใช้อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์เสริมในการสนทนาและฟังเพลงเป็นเวลานาน หรือเปิดเสียงดังเกินไป โดยชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากใช้งานอย่างไม่เหมาะสมหรือผิดวิธี

- กระตุ้นให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมภายในครอบครัวมากขึ้น

- ส่งเสริมให้เด็กมีงานอดิเรกทำ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ แม้กระทั่งการเล่นกีฬาที่ชื่นชอบ


ที่มา: http://www.hiso.or.th/hiso/health_event/ghealth_event27.php