วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

สคร.๘ ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มพัฒนาองค์กรและกลุ่มแผนฯ (๑๐ ม.ค.๒๕๕๕)

สคร.๘ นครสวรรค์ ศึกษาดูงานกลุ่มพัฒนาองค์กรและกลุ่มแผนฯ สคร.๕
วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ณ ห้องประชุมชั้น ๓ สคร.๕



๑. บุคลากร สคร.๕ (กลุ่มแผนฯ กลุ่มพัฒนาองค์กร กลุ่มบริหารฯ) และ สคร.๘ (กลุ่มแผนฯ กลุ่มพัฒนาองค์กร งาน IT) แนะนำตนเอง

๒. นางรัตนาภรณ์ ฮิมหมั่นงาน รองผอ.สคร.๕ ได้กล่าวต้อนรับ และบรรยายเรื่อง ทิศทางการดำเนินงาน สคร.๕ ตามไฟล์ powerpoint ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
                - การบริหารจัดการ/ถ่ายทอดตัวชี้วัด สภาพการทำงานในปัจจุบัน และทิศทางการทำงานปี ๒๕๕๕
- สร้างการทำงานเชิงบูรณาการระหว่างยุทธศาสตร์ การสร้างคนทดแทนคนเก่า
- กรอบแนวคิด การบูรณาการผ่านการประชุมประจำเดือน ความสัมพันธ์ของกลุ่มงาน แผนคือจุดเชื่อมการทำงานในพื้นที่
- Concept การทำงานปี ๕๕ (ISMART > PMQA บูรณาการ > KM HRD > Area based > Vision)
- เส้นทาง.. การพัฒนา สคร. (ปี ๕๓ กลุ่มโรค > ปี ๕๔ กลุ่มงานตามยุทธ์ > ปี ๕๕ องค์กรแห่งการเรียนรู้ > ปี ๖๓ องค์กรชั้นนำ)
๓. นางนิ่มนวล ปุณยหทัยพงศ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาองค์กร สคร.๕ นำเสนอ ข้อมูลทั่วไปของสคร.๕ และการดำเนินงานของกลุ่มพัฒนาองค์กร ตามไฟล์ powerpoint ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
-        -  ข้อมูลทั่วไปของสคร.๕ (พื้นที่รับผิดชอบ วิสัยทัศน์ พันธกิจ คำขวัญ อัตรากำลัง โครงสร้าง สคร.๕)
-        -  การดำเนินงานของกลุ่มพัฒนาองค์กร (วิสัยทัศน์กลุ่มพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดปี ๒๕๕๕ งบประมาณ PMQA สัญจร)
       -   งานกลุ่มพัฒนาองค์กร (OG, KM, IT, ฐานข้อมูล, HRD, ISMART)
                                           -    การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สคร.๕

๔. นายไพโรจน์ พรหมพันใจ หัวหน้ากลุ่มแผนและประเมินผล สคร.๕ นำเสนอ แนวทางการดำเนินงานกลุ่มแผนและประเมินผล ตามไฟล์ powerpoint ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
-          โครงสร้างการบริหารงาน อัตรากำลัง กิจกรรมหลัก (งานแผนงาน, แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการปี ๒๕๕๕) สมรรถนะ PMS และการเชื่อมโยงการดำเนินงาน



 ๔. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
- สคร.๗ : ได้เห็นเป็นรูปธรรม และมีงานที่สามารถนำไปใช้ได้อีกมาก
- สคร.๗ : การพัฒนาองค์กร พัฒนาคน เป็นการสร้างบารมี (สร้างความดี)
- ภายใต้การปรับโครงสร้างใหม่ เป็นทีมงานใหม่ คิดว่าการศึกษาดูงานเป็นวิธีการเรียนลัด จึงได้มาศึกษาดูงาน ณ สคร.๕ และสามารถนำไปปรับใช้ได้
- สคร.๗ มีพยาบาลวิชาชีพอยู่ที่กลุ่มแผน จะบริหารบุคคลอย่างไร
- สคร.๕ ปฏิบัติงานตามความสามารถ แต่ไม่เสียสิทธิประโยชน์ โดยมี Job ด้านบริการด้วย
- สคร.๗ งาน HWP มีการประเมินจากผู้ประเมินภายนอกหรือไม่ โดยสคร.๗ ได้ HWP ๕ ปีแล้ว และจะทำ happy workplace ต่อไป
- สคร.๕ บูรณาการเป็นงานประจำ และมีผู้ประเมินจากภายในตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นกรรมการกลางของจังหวัดด้วย
- สคร.๗ สอบถามธรรมนูญ (อัตราการเบิกจ่ายการปฏิบัติราชการของสคร.๕)
- สคร.๕ ใช้มาหลายปีแล้ว ซึ่งต้องทำความเข้าใจ/ชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติงานทราบและยอมรับ
- สคร.๗ แนวทางการทำ PMQA
- สคร.๕ ปี ๕๔ จะทำแยกเป็นคณะกรรมการรายหมวด ส่วนปี ๕๕ ได้ชี้แจงใน PMQA สัญจร และทำเป็นภาพใหญ่ แยกคณะทำงานรายด้าน ลดการประชุม/รวมการประชุมหลาย ๆ ส่วนการถ่าย PMS ลงตัวบุคคล ซึ่งได้ไปศึกษาดูงานที่ สคร.๖ ทำ Competency Model โดย สคร.๕ จะประชุมและเชิญผู้ทรงฯ กฤษฎา มาให้ข้อเสนอแนะวันที่ ๒๓ ม.ค. นี้ ซึ่งสคร. ควรทำงานในรูปของเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น
- สคร.๗ การเบิกจ่ายงบประมาณ (Estimates) ให้อยู่ในระดับต้น ๆ และการสรุปผลการวิเคราะห์
- สคร.๕ วางแผน สร้างเงื่อนไขให้กลุ่มดำเนินการ (เชื่อมโยงกับความดีความชอบ) กำหนด Flow งานของงานการเงิน (แบ่งผู้รับผิดชอบรายผลผลิต) มีการติดตามทุกเดือน ส่วนการสรุปผลการวิเคราะห์ ช่วงแรกจะเขียนวิเคราะห์ไม่ตอบโจทย์ จะใช้วิธีการให้คนที่ได้รับคำชมจากอาจารย์ผู้ประเมินมาสอนต่อ
- สคร.๗ ภายใต้การดำเนินงานในปัจจุบัน จะมีวิธีการลดข้อขัดแย้งอย่างไร
- สคร.๕ กลุ่มแผนฯ จะเน้นใช้การประสานงาน ลดการปะทะ ไม่ขัดผลประโยชน์ กลุ่มพัฒนาองค์กร ยึดหลักถูกต้อง ถูกธรรม ยึดประโยชน์ส่วนรวม ปรับตัวเพื่อลดข้อขัดแย้ง หลักยืดหยุ่นผ่อนปรน
- สคร.๗ จิตที่จะให้ มาก่อนจิตที่คิดจะรับ และขอขอบคุณท่าน ผอ. รองผอ. และบุคลากรทุกท่านในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้