วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕

รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕
วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ สคร.๕ นครราชสีมา
----------------------------

ผู้เข้าร่วมประชุม: คณะกรรมการทำงานการจัดการความรู้ สคร.๕
Facilitator: คุณธีรศักดิ์ และกลุ่มพัฒนาองค์กร

เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ น.



วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
นายแพทย์ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผอ.สคร.๕ เป็นประธานการประชุมและได้กล่าวถึง การทำ KM องค์กรจะเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วและยั่งยืน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรที่ดีที่สุด
นวัตกรรมจากคนรุ่นใหม่ จากอบรม OD รุ่น ๓ (๕ กลุ่ม) เปิดเวทีให้กับรุ่นใหม่หากต้องการจะดำเนินการต่อ ให้จัดทำโครงการมานำเสนอ
วาระที่ ๒ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
นางนิ่มนวล ปุณยหทัยพงศ์  หัวหน้ากลุ่มพัฒนาองค์กร สคร.๕ ได้นำเสนอแนวคิดการจัดการความรู้ ตามไฟล์ PowerPoint ดังนี้
๒.๑  Conceptual
- การจัดการความรู้ในองค์กร การจัดการความรู้เป็น KPI ขององค์กร เพื่อให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO)
- PMQA model ๗ หมวด
    หมวด ๕ การวัด วิเคราะห์ การจัดการความรู้ : ยุทธศาสตร์ละ ๑ เรื่อง
    หมวด ๖ การจัดการกระบวนการ : กระบวนการสร้างคุณค่า ๑ เรื่อง และกระบวนการสนับสนุน ๑ เรื่อง
- ทิศทาง  KM ปี ๕๕
- นโยบาย
- KM/R2R/Innovation/วิจัย (๐.๓๐ %)
๒.๒ KPI (ร่วม) ปี ๕๕ สู่บุคคล
- ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ของหน่วยงาน KM/R2R/Innovation (KPI ร่วม ปี ๒๕๕๕)

ระดับต่ำสุด
ที่ยอมรับได้
ระดับต่ำกว่ามาตรฐาน
ระดับมาตรฐาน
ระดับยาก
ปานกลาง
ระดับยากมาก
1. มีกิจกรรมการจัดการความรู้ 1 เรื่อง
(แจ้งภายใน 20 มี.ค.)
1. มีกิจกรรมการจัดการความรู้ 1 เรื่อง
(แจ้งภายใน 10 มี.ค.)
1. มีกิจกรรมการจัดการความรู้ 1 เรื่อง
(แจ้งภายใน ก.พ.)
1. มีกิจกรรมการจัดการความรู้ 1 เรื่อง
(แจ้งภายใน 15 ก.พ.)
1. มีกิจกรรมการจัดการความรู้ 1 เรื่อง
(แจ้งภายใน ม.ค.)
2. มีการรายงานความก้าวหน้าในการประชุมกก.KM
(ภายใน ก.พ.)
2. มีการรายงานความก้าวหน้าในการประชุมกก.KM
(ภายใน ก.พ.)
2. มีการรายงานความก้าวหน้าในการประชุมกก.KM
(ภายใน ม.ค.)
2. มีการรายงานความก้าวหน้าในการประชุมกก.KM
(ภายใน ม.ค.)
2. มีการรายงานความก้าวหน้าในการประชุมกก.KM
(ภายใน ม.ค.)
3. สรุปบทเรียน
(ส่งภายใน 10 ก.ย.)
3. สรุปบทเรียน
(ส่งภายใน 5 ก.ย.)
3. สรุปบทเรียน
(ส่งภายใน ส.ค.)
3. สรุปบทเรียน
(ส่งภายใน 15 ส.ค.)
3. สรุปบทเรียน
(ส่งภายใน 10 ส.ค.)



4. นำเสนอในการประชุมของสคร.5
(กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรสคร.5)
4. นำเสนอในการประชุม
(กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรภายนอกหน่วยงาน)

- ระดับความสำเร็จของการจัดทำกระบวนการสร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุน (KPI ร่วม ปี ๒๕๕๕)
  คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) ประกอบด้วย
- ที่มา วัตถุประสงค์ ขอบเขต คำจำกัดความ ขั้นตอนการปฏิบัติ (Flowchart)
- สื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และนำไปใช้
- ประเมินผลความพึงพอใจ

ระดับต่ำสุด
ที่ยอมรับได้
ระดับต่ำกว่ามาตรฐาน
ระดับมาตรฐาน
ระดับยาก
ปานกลาง
ระดับยากมาก
1. มีคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) 1 เรื่อง
1. มีคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) 1 เรื่อง
1. มีคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) 1 เรื่อง
1. มีคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) 1 เรื่อง
1. มีคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) 1 เรื่อง
2. มีการดำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติงาน
2. มีการดำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติงาน
2. มีการดำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติงาน
2. มีการดำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติงาน
2. มีการดำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติงาน
3. มีสรุปผลประเมินความพึงพอใจ
(ร้อยละ 60)
3. มีสรุปผลประเมินความพึงพอใจ
(ร้อยละ 65)
3. มีสรุปผลประเมินความพึงพอใจ
(ร้อยละ 70)
3. มีสรุปผลประเมินความพึงพอใจ
(ร้อยละ 75)
3. มีสรุปผลประเมินความพึงพอใจ
(ร้อยละ 80)



แลกเปลี่ยนเรียนรู้
คุณนิยม : การทำ KM น่าจะมีวิธีการสร้างบรรยากาศให้เกิดขึ้น เช่น Road map วางแนวทางการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ เช่น เชิญเครือข่ายเข้ามาร่วมทำเพื่อสร้างนวัตกรรม การสร้างบรรยากาศ การสร้างขวัญ/กำลังใจ
ผอ.สคร.๕ : การทำแผนในเดือน ก.ย. ณ โรงแรมเฮอร์มิเทจ โดยยังไม่ได้พูดคุยหารือกันก่อน วันนี้จึงเป็นการ Share vision และค้นหาต้นทุน (คน ความรู้) และหากระบวนการพัฒนา/ให้คุณค่า  
คุณธีรศักดิ์ : KM ในปีนี้เป็นกระแสมากขึ้น และได้กำหนด KM เป็นตัวชี้วัดลงทุกกลุ่มจะง่ายขึ้น ซึ่ง KM เป็นการพัฒนา (ตนเอง+งาน) ที่ทุกคนในกลุ่มจะต้องทำร่วมกัน เรียนลัดจากประสบการณ์
เน้น KM ประกอบด้วย Hand Head Heart ทำจริง มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ (จากประสบการณ์ และตำรา) และมีทัศนคติที่ดี และแบ่งปันจากการพูดคุย เช่น Face book คุยกันในเรื่องที่ทำและบันทึก (ข้อมูล+ภาพ)
กระบวนการ KM ในปี ๒๕๕๔ ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มพิจารณางานที่ทำและเลือกผลิต Knowledge Asset โดยมีเวที (หลาย ๆ ครั้ง) ให้มาเล่า Concept กระบวนการ การเก็บข้อมูล และ K. Asset ที่ได้ อย่าให้ KM มาอยู่ที่คนรับผิดชอบ และไม่ให้ KM มาเป็นภาระ ในปี ๕๔ คนที่รับผิดชอบ KM ไม่ใช่คนที่ทำงานนั้นจริง ๆ
คุณนิ่มนวล : ให้ระมัดระวังการใช้ Face book คิดก่อนพูด และพูดเชิงสร้างสรรค์ 
คุณอรสา : แลกเปลี่ยน R2R งานบริหารที่ได้รับรางวัลในปี ๒๕๕๔ เรื่อง การพัฒนาฐานข้อมูลการฝึกอบรมของบุคลากร เพื่อสนับสนุนงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล ก่อนทำ รู้สึกว่าอยากทำ แต่เป็นภาระ แต่ทำแล้วเห็นว่าเป็นการพัฒนางาน โดยมีทีมช่วยทำ

วาระที่ ๓ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
๒.๑ คณะทำงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำ KM กระบวนการสร้างคุณค่า/สนับสนุน ของแต่ละกลุ่ม

กลุ่ม
คณะทำงาน
เรื่อง KM
ภาคีเครือข่าย
ดร.เพลินพิศ
การวิจัยประเมินผลโครงการ ๔ อำเภอต้นแบบ
พัฒนาวิชาการ
คุณวิมลพรรณ คุณปรียานุช
คุณธีรศักดิ์ (Fa.)
ถอดบทเรียนกระบวนวิจัย PAR บุหรี่ ปี ๓
สื่อสารฯ
คุณนิยม
คุณมาณวิกา
นวัตกรรมการสื่อสาร ๑๐ โรคตามนโยบายฯ
ระบาด
คุณสุทธิลักษณ์ คุณวีระพงษ์
การสื่อสารผ่าน Facebook สนับสนุนการเฝ้าระวังโรค
ตอบโต้ฯ
คุณประดิษฐ์(เพิ่ม) คุณเฉลิมพร
การประเมินผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพ จากภาวะฉุกเฉินอุทกภัย
แผนงานฯ
คุณพรรณรัตน์
แนวทางการพัฒนาการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากในศูนย์เด็กเล็ก
พัฒนาองค์กร
คุณนิ่มนวล คุณอินท์ฉัตร(เพิ่ม)
คุณนันท์นภัส คุณพรศักดิ์
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
บริหาร
คุณพัชรา คุณสนธยา คุณจันทนา
คุณสุทิภรณ์ คุณสุชาวดี คุณสุกัญญา
ประเมินความพึงพอใจการใช้ E-Slip (Online)
ศูนย์อ้างอิงฯ
คุณดอกรัก คุณนที(เพิ่ม)
การพัฒนาคุณภาพศูนย์ซ่อมเครื่องพ่นเคมี
งานเภสัช
คุณดวงจันทร์(เพิ่ม) คุณพัชรภร
การพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา
งานชันสูตร
คุณเสวียน(เพิ่ม)
การประกันคุณภาพการตรวจ Slide TB
ศตม.๕.๑
คุณสำอาง
การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ซ้ำซาก
ศตม.๕.๒
คุณชาญชัย
การเขียนรายงานการสอบสวนโรคไข้เลือดออกให้ได้มาตรฐาน
ศตม.๕.๓
คุณสมพร คุณสุนันทา
การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ซ้ำซาก
ศตม.๕.๔
คุณจงรัก
การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก

กลุ่ม
คณะทำงาน
เรื่อง กระบวนการสร้างคุณค่า/สนับสนุน
ภาคีเครือข่าย
คุณรัฏฐรินีย์
ประเมินโครงการ ๔ อำเภอต้นแบบ
พัฒนาวิชาการ
คุณกัลยาณี
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
สื่อสารฯ
คุณเบญจมาศ
การสร้างภาพลักษณ์องค์กร
ระบาด ตอบโต้
คุณนันทนา
GIS การประเมินพื้นที่เสี่ยง
แผนงานฯ
ดร.บัณฑิต
กระบวนการประกันคุณภาพการประเมินผล
พัฒนาองค์กร
คุณนิ่มนวล คุณนันท์นภัส
คุณจิระเดช คุณสุนนท์ชัย(เพิ่ม)
กระบวนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
บริหาร
คุณจันทนา คุณจามรี
คุณทรงพล
คุณนิตยา
คุณอรสา คุณนงค์นุช
คุณขวัญจิตร์ คุณไปรยา
-ระบบ e-Slip (เหมือน KM)
-ประเมินพนักงานขับรถ Online
-ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
-ฐานข้อมูลบุคลากร
-ระบบเบิกวัสดุ
ศูนย์อ้างอิงฯ
คุณดอกรัก คุณนที
การจัดทำคู่มือการจัดการปัญหายุงลายบ้านระดับชุมชน
งานเภสัช
คุณดวงจันทร์
การพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา (เหมือน KM)
งานชันสูตร
คุณเสวียน
การประกันคุณภาพการตรวจ Slide TB (เหมือน KM)
หมายเหตุ ตัวหนังสือสีแดงคือ เพิ่มเติม/แก้ไข

๒.๒ นวัตกรรม (ร่วม)
(๑) การจัดการความรู้พิพิธภัณฑ์แมลงทางการแพทย์และสาธารณสุข (ปี ๕๕ Phase , ปี ๕๖ สรุปผล) คุณนที ทำโครงการเสนอ และกำหนดทีม บทบาท
(๒) E-learning in Social Media (You tube, Face book, Website) คุณวีระพงษ์ ทำโครงการเสนอ และกำหนดทีม บทบาท

การดำเนินการต่อไป
ผู้บริหาร
- สนับสนุนงบประมาณ
- จัดระบบการทำงาน เพื่อสนับสนุนงานทำงาน เช่น การร่วมประชุม KM จัดเวทีประชุมให้บ่อยขึ้น
กลุ่ม
- Share ความคิดเห็นในกลุ่ม การจัดสรรเวลา รวมทีมช่วยทำ
- เน้นการบันทึกอย่างเป็นระบบ (คนเก่งขึ้น ผลงานพัฒนา Process การทำงาน ประเมินผลกระทบ)

ปิดประชุมเวลา ๑๒.๓๐ น.


วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

MAC Address และ IP Address

ในระบบเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องแบ่งปันทรัพยากรและข้อมูลร่วมกัน นั้น หมายความว่าคอมพิวเตอร์สามารถรับและส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ ซึ่งการทำเช่นนั้นได้แสดงว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องมีรูปแบบของการ อ้างอิงตำแหน่งภายในเครือข่าย เพื่อให้การติดต่อกันระหว่างเครื่องสามารถทำได้ถูกต้อง โดยรูปแบบการระบุตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมีอยู่ 2 ค่าดังนี้


MAC Address
MAC Address เป็นชุดตัวเลขที่ทางผู้ผลิตระบุไว้ให้กับการ์ดเครือข่าย (Network Interface Card : NIC) แต่ละชิ้น ค่า MAC Address จึงเป็นค่าตัวเลขที่ไม่มีซ้ำกันในโลก เลขแต่ละชุดจะมีเพียงชุดเดียวนั่นเอง ซึ่งประโยชน์ของ MAC Address คือการนำไปใช้ในเรื่องของระบบความปลอดภัยในเครือข่ายเช่น การกำหนดให้มีการกรองค่า MAC Address เพื่อป้องกันการบุกรุกจากผู้ไม่ประสงค์ดี เป็นต้น

IP Address
IP Address เป็นชุดตัวเลขบนเครือข่ายที่รู้จักกันดีมากกว่า MAC Address โดยค่า IP Address จะเป็นค่าที่ได้รับเพื่อใช้งานในลักษณะชั่วคราวและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยส่วนใหญ่ระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเชื่อมต่อด้วยมักจะกำหนด IP Address ให้เพื่อใช้อ้างอิงภายในเครือข่ายนั้นๆเช่น 192.168.1.100 (โดยที่เครือข่ายอื่นๆ อาจมีการใช้หมายเลข IP Address นี้ซ้ำได้ด้วยเช่นกัน แต่ในเครือข่ายเดียวกัน IP Address จะไม่ซ้ำ)

ข้อดีของการ Fixed MAC Address คือ
- ป้องกันการโจมตีของ NetCut, Virus จาก Hi5, โปรแกรมพวก arp posioning attack
- ป้องกันลูกค้าเปลี่ยน IP Address ของเครื่องลูก เนื่องจากว่า ถ้าเปลี่ยน IP จะทำให้เข้าเน็ตไม่ได้
- ป้องกันลูกค้าหรือผู้ไม่ประสงค์ดี แกล้งเปลี่ยน IP ชนกับ Gateway เพื่อให้ระบบล่ม
- ป้องกันการปลอม MAC Address เพื่อเข้ามาใช้งานในระบบได้

ที่มา:
http://www.varietypc.net/main/archives/1789
http://2poto.com/component/option,com_kunena/Itemid,2/catid,13/func,view/id,2818/